วันจันทร์ที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2551

วิสัยทัศน์และพันธกิจของกระทรวงมหาดไทย (พ.ศ.2548-2551)

วิสัยทัศน์ (VISION) กระทรวงมหาดไทย
"กระทรวงมหาดไทยเป็นองค์กรกลางในการบำบัดทุกข์ บำรุงสุข ขจัดความยากจน เสริมสร้างความมั่นคงภายใน รวมทั้งบูรณาการการบริหารจัดการในพื้นที่อย่างมีประสิทธิภาพเพื่อให้ประชาชนมีความมั่นคง มั่งคั่ง อย่างยั่งยืน"

พันธกิจ (MISSION)
กระทรวงมหาดไทยมี 9 พันธกิจ
  1. บูรณาการและดำเนินการแก้ไขปัญหาความยากจนในทุกระดับ
  2. ส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก เศรษฐกิจชุมชน และวิสาหกิจชุมชน
  3. พัฒนาเมืองและชุมชนให้น่าอยู่
  4. ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ และส่ิงแวดล้อม
  5. ส่งเสริมความสัมพันธ์กับประเทศเพื่อบ้าน และปฏิบัติตามพันธกรณี หรือข้อตกลงระหว่างประเทศ
  6. เสริมสร้างการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี
  7. ประสานความร่วมมือกับทุกกระทรวง และทุกภาคส่วนในการบริหารราชการจังหวัด แบบบูรณาการ
  8. เสริมสร้างความเข้มแข็งขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
  9. เสริมสร้างความมั่นคงภายใน อำนวยความเป็นธรรม ความสงบเรียบร้อย ความปลอดภัย และความสมานฉันท์ในสังคม

ประวัติความเป็นมา

หลังจากที่มีการเปลี่ยนแปลงการบริหารราชการแผ่นดินจากแบบจตุสดมถ์เปลี่ยนมาเป็นกระทรวงเสนาบดีแล้ว สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ได้ทรงดำรงตำแหน่ง เสนาบดีกระทรวงมหาดไทยเป็นพระองค์แรก กระทรวงมหาดไทยมีหน้าที่จัดราชการฝ่ายปกครอง การปราบปราม และทำนุบำรุงท้องที่ ตามแบบอย่างอารยประเทศทั้งหลาย พระองค์ท่านได้พิจารณาเลือกใช้รูปแบบการปกครองแบบเทศาภิบาล และสุขาภิบาล อันเป็นต้นแบบของระบอบประชาธิปไตยปัจจุบัน ได้ทรงให้ตราพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ขึ้น เพื่อกำหนดหน้าที่ในราชการมหาดไทย มีหน้าที่ปกครอง ป้องกัน บำบัดทุกข์ บำรุงสุขประชาชน ปราบปรามอาชญากร บรรเทาภัยพิบัติต่างๆ และกำหนดท้องที่ปกครองแบ่งเป็นมณฑล จังหวัด อำเภอ และหมู่บ้าน ส่วนสุขาภิบาลก็มีสาธารณสุขและอนามัย

กระทรวงมหาดไทย จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2435 รับผิดชอบงานมหาดไทยหรืองานการปกครองประเทศ ได้มีการแบ่งหน้าที่ระหว่างกระทรวงมหาดไทย และกระทรวงกลาโหม ให้ชัดเจนไม่ซ้ำซ้อนกัน โดยให้กระทรวงมหาดไทยรับผิดชอบและบังคับบัญชาหัวเมืองทั้งหมดเพียงกระทรวงเดียว

กระทรวงมหาดไทย เมื่อแรกตั้งแบ่งออกเป็น 3 กรม มีหน้าที่ต่างๆ กัน ดังนี้
  1. กรมมหาดไทยกลาง เป็นพนักงานทำการทุกอย่าง ซึ่งมิให้แยกออกไปเป็นหน้าที่กรมอื่น
  2. กรมมหาดไทยฝ่ายเหนือ ให้เป็นเจ้าที่แผนกปราบปรามโจรผู้ร้ายกับแผนกอัยการ รวมทั้งการเกี่ยวข้องกับชาวต่างประเทศ (ภายหลังโอนงานที่เกี่ยวข้องกับการต่างประเทศไปเป็นหน้าที่ปลัดทูลฉลอง)
  3. กรมมหาดไทยฝ่ายพลำภัง ให้เป็นเจ้าหน้าที่แผนกปกครองท้องที่
สำหรับการปกครองในส่วนภูมิภาค ได้กำหนดรูปแบบการปกครองที่เรียกว่า "เทศาภิบาล" ขึ้นมาใช้และได้มอบหมายให้กระทรวงมหาดไทยเป็นผู้รับผิดชอบดูแล โดยจัดแบ่งหัวเมืองออกเป็นมณฑล เมือง และอำเภอ โดยมีสมุหเทศาภิบาล ผู้ว่าราชการเมืองและนายอำเภอ เป็นผู้ปกครองบังคับบัญชาข้าราชการและดูแลทุกข์สุขของประชาชนในเขตท้องที่นั้นๆ และมีกำนันผู้ใหญ่บ้านเป็นผู้ช่วยเหลือปฏิบัติงานในระดับตำบลและหมู่บ้าน
บทบาทและภารกิจหลักในการบริหารราชการมาอย่างยาวนานของกระทรวงมหาดไทย ได้แก่ เป็นหน่วยงานหลักที่มีภาระหน้าที่ในการ "บำบัดทุกข์ บำรุงสุข" เป็นด่านแรกในการบริหารและจัดการด้านความมั่นคง และกิจการภายใน การเสริมสร้างโอกาสให้ประชาชนในท้องถิ่นสามารถที่จะเติมโตและแข่งขันได้ทั้งในระดับพื้นที่และในระดับประเทศ
ในยุคของการปฏิรูประบบราชการ รัฐบาลได้ดำเนินการปฏิรูปโครงสร้างระบบบริหารราชการมีการปรับปรุง กระทรวง กรม ต่างๆ ให้มีความเหมาะสมกับการเปลี่ยนแปลงตามสถานการณ์ที่มีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว กระทรวงมหาดไทยปรับบทบาทของตนเองให้มีความชัดเจนขึ้นจากการดำเนินการที่เน้นภารกิจที่หลากหลายไปสู่ภารกิจหลัก คือ การรักษาความสงบเรียบร้อยและส่งเสริมสนับสนุนการอยู่ดีกินดีของประชาชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนของภูมิภาคและท้องถิ่น ซึ่งถือได้ว่าเป็นส่วนรอบนอกที่มีความจำเป็นต่อการพัฒนาประเทศอย่างมาก

วันศุกร์ที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2551

ภาคความรู้ความสามารถที่ใช้เฉพาะตำแหน่ง (ภาค ข.)

6.2 ภาคความรู้ความสามารถที่ใช้เฉพาะตำแหน่ง (ภาค ข.) ( คะแนนเต็ม 200 คะแนน )
ทดสอบความรู้ ความเข้าใจ ที่เกี่ยวข้องกับงานในหน้าที่ของตำแหน่งเจ้าพนักงานปกครอง 3(ปลัดอำเภอ) โดยวิธีสอบข้อเขียน ดังนี้

(1) ความรู้พื้นฐานในการปฏิบัติงานราชการ ( 100 คะแนน )
(1.1) ความรู้ในหลักวิชาทางการเมือง การปกครองและการบริหารราชการแนวใหม่

(1.2) ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับสภาพแวดล้อมปัจจุบันทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมของประเทศไทยและของต่างประเทศ

(1.3) ความรู้เกี่ยวกับกฎหมายและระเบียบที่ใช้ในการปฏิบัติราชการ เช่นรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย กฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน กฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือน กฎหมายว่าด้วยวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง กฎหมายว่าด้วยความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ กฎหมายว่าด้วยข้อมูลข่าวสารของราชการ พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี ระเบียบเกี่ยวกับงานสารบรรณ ระเบียบเกี่ยวกับการรักษาความลับของทางราชการ ระเบียบเกี่ยวกับการงบประมาณ การเงินการคลังและพัสดุ

(1.4) ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมายทั่วไป กฎหมายอาญา กฎหมายแพ่ง กฎหมายวิธีพจารณาความแพ่ง และกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

(2) ความรู้ ความเข้าใจในภารกิจของกรมการปกครอง ( 100 คะแนน )

(2.1) วิสัยทัศน์ พันธกิจ โครงสร้าง อำนาจหน้าที่ และภารกิจของกระทรวงมหาดไทยและกรมการปกครอง

(2.2) การปกครองท้องที่ ได้แก่ กฎหมายว่าด้วยลักษณะปกครองท้องที่ กฎหมายและระเบียบ ข้อบังคับ ที่เกี่ยวข้องกับกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ฯลฯ และคณะกรรมการหมู่บ้าน

(2.3) ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับงานทะเบียนราษฎร งานบัตรประจำตัวประชาชนงานทะเบียนทั่วไป งานอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิงและสิ่งเทียมอาวุธปืน งานการพนัน งานควบคุมการเรี่ยไร งานควบคุมการขายทอดตลาดและค้าของเก่า งานโรงรับจำนำ งานโรงแรม และงานสถานบริการ

(2.4) ความรู้เกี่ยวกับการอำนวยความเป็นธรรมให้แก่ประชาชน การรักษาความสงบเรียบร้อย ความมั่นคงภายในและการจัดระเบียบสังคม ในหน้าที่ของกรมการปกครอง

สรุปแนวเนื้อหาภาคความรู้ความสามารถเฉพาะตำแหน่ง (ภาค ข.)

ความรู้เรื่อง ประวัติความเป็นมา วิสัยทัศน์ พันธกิจ โครงสร้าง อำนาจหน้าที่และภารกิจของกรมการปกครอง

กฏกระทรวง ว่าด้วยกลุ่มภารกิจ พ.ศ.2545 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2546(ฉบับที่ 3) พ.ศ.2546(ฉบับที่ 4) พ.ศ.2547

  • หมวด1 การจัดกลุ่มภารกิจในกระทรวง
  • หมวด2 การบังคับบัญชา
  • หมวด3 การรายงาน
  • หมวด4 ข้อจำกัดอำนาจของผู้เป็นหัวหน้ากลุ่มภารกิจ
  • หมวด5 การปฏิบัติราชการแทน
  • หมวด6 การรักษาราชการแทน
  • หมวด7 การอุทธรณ์คำสั่งทางปกครอง

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฏหมายทั่วไป

  • ความสำคัญของกฏหมาย
  • ประเภทของกฏหมาย
  • กฏหมายอาญา
  • กฏหมายวิธีพิจารณาความอาญา
  • กฏหมายแพ่งและพานิชย์
  • เอกเทศสัญญา
  • กฏหมายเกี่ยวกับครอบครัว
  • กฏหมายเกี่ยวกับมรดก
  • กฏหมายเกี่ยวกับพินัยกรรม
  • กฏหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง

ความรุ้เบื้องต้นเกี่ยวกับงานทะเบียนราษฎร

  • ความหมายของงานทะเบียน
  • งานทะเบียนราษฎร
  • ทะเบียนพินัยกรรม
  • ทะเบียนชื่อบุคคล
  • ทะเบียนมูลนิธิ
  • ทะเบียนอาวุธปืน
  • ทะเบียนศาลเจ้า
  • ทะเบียนสัตว์พาหนะ
  • ทะเบียนนิติกรรม
  • ทะเบียนมัสยิดอิสลาม
  • ทะเบียนเกาะ
  • ทะเบียนสมาคม
  • ทะเบียนการขายทอดตลาดและค้าของเก่า
  • ทะเบียนสุสานและฌาปนสถาน

ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับสภาพแวดล้อมปัจจุบันทางการเมือง เศรษฐกิจและสังคมของประเทศไทย และต่างประเทศ

  • สภาพแวดล้อมทางการเมืองของไทยในปัจจุบัน
  • ภาวะเศรษฐกิจไทย
  • ภาวะเศรษฐกิจโลก
  • ปัญหาด้านการเมืองของโลกที่สำคัญในปัจจุบัน
  • สภาพแวดล้อมทางด้านสังคมไทยและสังคมโลก

สาระสำคัญ พระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ พ.ศ.2457 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่2) พ.ศ.2486 (ฉบับที่3) พ.ศ.2489(ฉบับที่4) พ.ศ.2510(ฉบับที่5) พ.ศ.2516(ฉบับที่6) พ.ศ.2525(ฉบับที่ 7) พ.ศ.2527 (ฉบับที่8)พ.ศ.2532 (ฉบับที่9) พ.ศ.2535 และ (ฉบับที่ 10) พ.ศ.2542

  • หมวดที่ 1 ว่าด้วยนามและการใช้พระราชบัญญัติ
  • หมวดที่2 ว่าด้วยวิธีอธิบายศัพท์ที่ใช้ในพระราชบัญญัติ
  • หมวดที่3 ว่าด้วยลักษณะปกครองหมู่บ้าน
  • หมวดที่4 ว่าด้วยลักษณะปกครองตำบล
  • หมวดที่5 ว่าด้วยลักษณะปกครองอำเภอ

สาระสำคัญ พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ.2540

  • หมวดที่ 1 การเปิดเผยข้อมูลข่าวสาร หน้าที่ของหน่วยงานของรัฐในการเปิดเผยข้อมูลข่าวสาร
  • หมวดที่ 2 ข้อมูลข่าวสารที่ไม่ต้องการเปิดเผย
  • หมวดที่ 3 ข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคล
  • หมวดที่ 4 เอกสารประวัติศาสตร์
  • หมวดที่ 5 คณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ
  • หมวดที่ 6 คณะกรรมการวินิจฉัยการเปิดเผยข้อมูลข่าวสาร
  • หมวดที่ 7 บทกำหนดโทษ
  • บทเฉพาะกาล

สาระสำคัญ พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ.2551

  • ลักษณะ 1 คณะกรรมการข้าราชการพลเรือน
  • ลักษณะ 2 คณะกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรม
  • ลักษณะ 3 บททั่วไป
  • ลักษณะ 4 ข้าราชการพลเรือนสามัญ
  • ลักษณะ 5 ข้าราชการพลเรือนในพระองค์
  • บทเฉพาะกาล

สาระสำคัญ พระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ.2539

  • หมวด 1 คณะกรรมการวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง
  • หมวด 2 คำสั่งทางปกครอง
  • หมวด 3 ระยะเวลาและอายุความ
  • หมวด 4 การแจง
  • หมวด 5 คณะกรรมการที่มีอำนาจดำเนินการพิจารณาทางปกครอง
  • บทเฉพาะกาล

พระราชบัญญัติ ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.2534 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2)พ.ศ.2535 (ฉบับที่3)พ.ศ.2536 (ฉบับที่4)พ.ศ.2543 (ฉบับที่5)พ.ศ.2545 (ฉบับที่6)พ.ศ.2546 และ(ฉบับที่7)พ.ศ.2550

  • ส่วนที่ 1 การจัดระเบียบบริหารราชการส่วนกลาง
  • ส่วนที 2 การจัดระเบียบบริหารราชการส่วนภูมิภาค
  • ส่วนที่ 3 การจัดระเบียบบริหารราชการส่วนท้องถิ่น
  • ส่วนที่ 4 คณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ
  • บทเฉพาะกาล

สาระสำคัญ พระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ.2539

สาระสำคัญ พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ.2546

  • หมวด 1 การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี
  • หมวด 2 การบริหารราชการเพื่อให้เกิดประโยชน์สุขของประชาชน
  • หมวด 3 การบริหารราชการเพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐ
  • หมวด 4 การบริหารราชการอย่างมีประสิทธิภาพ และเกิดความคุ้มค่าในเชิงภารกิจของรัฐ
  • หมวด 5 การลดขั้นตอนการปฏิบัติงาน
  • หมวด 6 การปรับปรุงภาตกิจของส่วนราชการ
  • หมวด 7 การอำนวยความสะดวก และการตอบสนองความต้องการของประชาชน
  • หมวด 8 การประเมินผลการปฏิบัติราชการ
  • หมวด 9 บทเบ็ดเตล็ด

สาระสำคัญ ระเบียบว่าด้วยการรักษาความลับของทางราชการ พ.ศ.2544

สาระสำคัญ ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ.2526

ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ

  • หมวด 1 คณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
  • หมวด 2 สำนักงานคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ

รวมระเบียบคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ ว่าด้วยการจัดตั้งและบริหารกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ พ.ศ.2544 และที่แก้ไขเพิ่มเติม(ฉบับที่2)พ.ศ.2544 (ฉบับที่3) พ.ศ.2544 และ(ฉบับที่4)พ.ศ.2545

  • หมวด 1 ข้อความทั่วไป
  • หมวด 2 กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
  • หมวด 3 คณะอนุกรรมการสนับสนุนการดำเนินงานกองทุนหมู่บ้านระดับจังหวัด
  • หมวด 4 คณะอนุกรรมการสนับสนุนและติดตามการดำเนินงานกองทุนหมู่บ้านระดับจังหวัด
  • หมวด 5 คณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง
  • หมวด 6 กองทุน และสมาชิกกองทุน
  • หมวด 7 การกู้ยืมเงินกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง
  • หมวด 8 การทำบัญชี และการตรวจสอบ
  • หมวด 9 บทเฉพาะกาล

ระเบียบคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ ว่าด้วยการจัดตั้งและบริหารกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ(ฉบับที่ 5) พ.ศ.24546