วันจันทร์ที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2551

วิสัยทัศน์และพันธกิจของกระทรวงมหาดไทย (พ.ศ.2548-2551)

วิสัยทัศน์ (VISION) กระทรวงมหาดไทย
"กระทรวงมหาดไทยเป็นองค์กรกลางในการบำบัดทุกข์ บำรุงสุข ขจัดความยากจน เสริมสร้างความมั่นคงภายใน รวมทั้งบูรณาการการบริหารจัดการในพื้นที่อย่างมีประสิทธิภาพเพื่อให้ประชาชนมีความมั่นคง มั่งคั่ง อย่างยั่งยืน"

พันธกิจ (MISSION)
กระทรวงมหาดไทยมี 9 พันธกิจ
  1. บูรณาการและดำเนินการแก้ไขปัญหาความยากจนในทุกระดับ
  2. ส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก เศรษฐกิจชุมชน และวิสาหกิจชุมชน
  3. พัฒนาเมืองและชุมชนให้น่าอยู่
  4. ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ และส่ิงแวดล้อม
  5. ส่งเสริมความสัมพันธ์กับประเทศเพื่อบ้าน และปฏิบัติตามพันธกรณี หรือข้อตกลงระหว่างประเทศ
  6. เสริมสร้างการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี
  7. ประสานความร่วมมือกับทุกกระทรวง และทุกภาคส่วนในการบริหารราชการจังหวัด แบบบูรณาการ
  8. เสริมสร้างความเข้มแข็งขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
  9. เสริมสร้างความมั่นคงภายใน อำนวยความเป็นธรรม ความสงบเรียบร้อย ความปลอดภัย และความสมานฉันท์ในสังคม

ประวัติความเป็นมา

หลังจากที่มีการเปลี่ยนแปลงการบริหารราชการแผ่นดินจากแบบจตุสดมถ์เปลี่ยนมาเป็นกระทรวงเสนาบดีแล้ว สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ได้ทรงดำรงตำแหน่ง เสนาบดีกระทรวงมหาดไทยเป็นพระองค์แรก กระทรวงมหาดไทยมีหน้าที่จัดราชการฝ่ายปกครอง การปราบปราม และทำนุบำรุงท้องที่ ตามแบบอย่างอารยประเทศทั้งหลาย พระองค์ท่านได้พิจารณาเลือกใช้รูปแบบการปกครองแบบเทศาภิบาล และสุขาภิบาล อันเป็นต้นแบบของระบอบประชาธิปไตยปัจจุบัน ได้ทรงให้ตราพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ขึ้น เพื่อกำหนดหน้าที่ในราชการมหาดไทย มีหน้าที่ปกครอง ป้องกัน บำบัดทุกข์ บำรุงสุขประชาชน ปราบปรามอาชญากร บรรเทาภัยพิบัติต่างๆ และกำหนดท้องที่ปกครองแบ่งเป็นมณฑล จังหวัด อำเภอ และหมู่บ้าน ส่วนสุขาภิบาลก็มีสาธารณสุขและอนามัย

กระทรวงมหาดไทย จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2435 รับผิดชอบงานมหาดไทยหรืองานการปกครองประเทศ ได้มีการแบ่งหน้าที่ระหว่างกระทรวงมหาดไทย และกระทรวงกลาโหม ให้ชัดเจนไม่ซ้ำซ้อนกัน โดยให้กระทรวงมหาดไทยรับผิดชอบและบังคับบัญชาหัวเมืองทั้งหมดเพียงกระทรวงเดียว

กระทรวงมหาดไทย เมื่อแรกตั้งแบ่งออกเป็น 3 กรม มีหน้าที่ต่างๆ กัน ดังนี้
  1. กรมมหาดไทยกลาง เป็นพนักงานทำการทุกอย่าง ซึ่งมิให้แยกออกไปเป็นหน้าที่กรมอื่น
  2. กรมมหาดไทยฝ่ายเหนือ ให้เป็นเจ้าที่แผนกปราบปรามโจรผู้ร้ายกับแผนกอัยการ รวมทั้งการเกี่ยวข้องกับชาวต่างประเทศ (ภายหลังโอนงานที่เกี่ยวข้องกับการต่างประเทศไปเป็นหน้าที่ปลัดทูลฉลอง)
  3. กรมมหาดไทยฝ่ายพลำภัง ให้เป็นเจ้าหน้าที่แผนกปกครองท้องที่
สำหรับการปกครองในส่วนภูมิภาค ได้กำหนดรูปแบบการปกครองที่เรียกว่า "เทศาภิบาล" ขึ้นมาใช้และได้มอบหมายให้กระทรวงมหาดไทยเป็นผู้รับผิดชอบดูแล โดยจัดแบ่งหัวเมืองออกเป็นมณฑล เมือง และอำเภอ โดยมีสมุหเทศาภิบาล ผู้ว่าราชการเมืองและนายอำเภอ เป็นผู้ปกครองบังคับบัญชาข้าราชการและดูแลทุกข์สุขของประชาชนในเขตท้องที่นั้นๆ และมีกำนันผู้ใหญ่บ้านเป็นผู้ช่วยเหลือปฏิบัติงานในระดับตำบลและหมู่บ้าน
บทบาทและภารกิจหลักในการบริหารราชการมาอย่างยาวนานของกระทรวงมหาดไทย ได้แก่ เป็นหน่วยงานหลักที่มีภาระหน้าที่ในการ "บำบัดทุกข์ บำรุงสุข" เป็นด่านแรกในการบริหารและจัดการด้านความมั่นคง และกิจการภายใน การเสริมสร้างโอกาสให้ประชาชนในท้องถิ่นสามารถที่จะเติมโตและแข่งขันได้ทั้งในระดับพื้นที่และในระดับประเทศ
ในยุคของการปฏิรูประบบราชการ รัฐบาลได้ดำเนินการปฏิรูปโครงสร้างระบบบริหารราชการมีการปรับปรุง กระทรวง กรม ต่างๆ ให้มีความเหมาะสมกับการเปลี่ยนแปลงตามสถานการณ์ที่มีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว กระทรวงมหาดไทยปรับบทบาทของตนเองให้มีความชัดเจนขึ้นจากการดำเนินการที่เน้นภารกิจที่หลากหลายไปสู่ภารกิจหลัก คือ การรักษาความสงบเรียบร้อยและส่งเสริมสนับสนุนการอยู่ดีกินดีของประชาชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนของภูมิภาคและท้องถิ่น ซึ่งถือได้ว่าเป็นส่วนรอบนอกที่มีความจำเป็นต่อการพัฒนาประเทศอย่างมาก

วันศุกร์ที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2551

ภาคความรู้ความสามารถที่ใช้เฉพาะตำแหน่ง (ภาค ข.)

6.2 ภาคความรู้ความสามารถที่ใช้เฉพาะตำแหน่ง (ภาค ข.) ( คะแนนเต็ม 200 คะแนน )
ทดสอบความรู้ ความเข้าใจ ที่เกี่ยวข้องกับงานในหน้าที่ของตำแหน่งเจ้าพนักงานปกครอง 3(ปลัดอำเภอ) โดยวิธีสอบข้อเขียน ดังนี้

(1) ความรู้พื้นฐานในการปฏิบัติงานราชการ ( 100 คะแนน )
(1.1) ความรู้ในหลักวิชาทางการเมือง การปกครองและการบริหารราชการแนวใหม่

(1.2) ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับสภาพแวดล้อมปัจจุบันทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมของประเทศไทยและของต่างประเทศ

(1.3) ความรู้เกี่ยวกับกฎหมายและระเบียบที่ใช้ในการปฏิบัติราชการ เช่นรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย กฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน กฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือน กฎหมายว่าด้วยวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง กฎหมายว่าด้วยความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ กฎหมายว่าด้วยข้อมูลข่าวสารของราชการ พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี ระเบียบเกี่ยวกับงานสารบรรณ ระเบียบเกี่ยวกับการรักษาความลับของทางราชการ ระเบียบเกี่ยวกับการงบประมาณ การเงินการคลังและพัสดุ

(1.4) ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมายทั่วไป กฎหมายอาญา กฎหมายแพ่ง กฎหมายวิธีพจารณาความแพ่ง และกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

(2) ความรู้ ความเข้าใจในภารกิจของกรมการปกครอง ( 100 คะแนน )

(2.1) วิสัยทัศน์ พันธกิจ โครงสร้าง อำนาจหน้าที่ และภารกิจของกระทรวงมหาดไทยและกรมการปกครอง

(2.2) การปกครองท้องที่ ได้แก่ กฎหมายว่าด้วยลักษณะปกครองท้องที่ กฎหมายและระเบียบ ข้อบังคับ ที่เกี่ยวข้องกับกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ฯลฯ และคณะกรรมการหมู่บ้าน

(2.3) ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับงานทะเบียนราษฎร งานบัตรประจำตัวประชาชนงานทะเบียนทั่วไป งานอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิงและสิ่งเทียมอาวุธปืน งานการพนัน งานควบคุมการเรี่ยไร งานควบคุมการขายทอดตลาดและค้าของเก่า งานโรงรับจำนำ งานโรงแรม และงานสถานบริการ

(2.4) ความรู้เกี่ยวกับการอำนวยความเป็นธรรมให้แก่ประชาชน การรักษาความสงบเรียบร้อย ความมั่นคงภายในและการจัดระเบียบสังคม ในหน้าที่ของกรมการปกครอง

สรุปแนวเนื้อหาภาคความรู้ความสามารถเฉพาะตำแหน่ง (ภาค ข.)

ความรู้เรื่อง ประวัติความเป็นมา วิสัยทัศน์ พันธกิจ โครงสร้าง อำนาจหน้าที่และภารกิจของกรมการปกครอง

กฏกระทรวง ว่าด้วยกลุ่มภารกิจ พ.ศ.2545 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2546(ฉบับที่ 3) พ.ศ.2546(ฉบับที่ 4) พ.ศ.2547

  • หมวด1 การจัดกลุ่มภารกิจในกระทรวง
  • หมวด2 การบังคับบัญชา
  • หมวด3 การรายงาน
  • หมวด4 ข้อจำกัดอำนาจของผู้เป็นหัวหน้ากลุ่มภารกิจ
  • หมวด5 การปฏิบัติราชการแทน
  • หมวด6 การรักษาราชการแทน
  • หมวด7 การอุทธรณ์คำสั่งทางปกครอง

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฏหมายทั่วไป

  • ความสำคัญของกฏหมาย
  • ประเภทของกฏหมาย
  • กฏหมายอาญา
  • กฏหมายวิธีพิจารณาความอาญา
  • กฏหมายแพ่งและพานิชย์
  • เอกเทศสัญญา
  • กฏหมายเกี่ยวกับครอบครัว
  • กฏหมายเกี่ยวกับมรดก
  • กฏหมายเกี่ยวกับพินัยกรรม
  • กฏหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง

ความรุ้เบื้องต้นเกี่ยวกับงานทะเบียนราษฎร

  • ความหมายของงานทะเบียน
  • งานทะเบียนราษฎร
  • ทะเบียนพินัยกรรม
  • ทะเบียนชื่อบุคคล
  • ทะเบียนมูลนิธิ
  • ทะเบียนอาวุธปืน
  • ทะเบียนศาลเจ้า
  • ทะเบียนสัตว์พาหนะ
  • ทะเบียนนิติกรรม
  • ทะเบียนมัสยิดอิสลาม
  • ทะเบียนเกาะ
  • ทะเบียนสมาคม
  • ทะเบียนการขายทอดตลาดและค้าของเก่า
  • ทะเบียนสุสานและฌาปนสถาน

ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับสภาพแวดล้อมปัจจุบันทางการเมือง เศรษฐกิจและสังคมของประเทศไทย และต่างประเทศ

  • สภาพแวดล้อมทางการเมืองของไทยในปัจจุบัน
  • ภาวะเศรษฐกิจไทย
  • ภาวะเศรษฐกิจโลก
  • ปัญหาด้านการเมืองของโลกที่สำคัญในปัจจุบัน
  • สภาพแวดล้อมทางด้านสังคมไทยและสังคมโลก

สาระสำคัญ พระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ พ.ศ.2457 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่2) พ.ศ.2486 (ฉบับที่3) พ.ศ.2489(ฉบับที่4) พ.ศ.2510(ฉบับที่5) พ.ศ.2516(ฉบับที่6) พ.ศ.2525(ฉบับที่ 7) พ.ศ.2527 (ฉบับที่8)พ.ศ.2532 (ฉบับที่9) พ.ศ.2535 และ (ฉบับที่ 10) พ.ศ.2542

  • หมวดที่ 1 ว่าด้วยนามและการใช้พระราชบัญญัติ
  • หมวดที่2 ว่าด้วยวิธีอธิบายศัพท์ที่ใช้ในพระราชบัญญัติ
  • หมวดที่3 ว่าด้วยลักษณะปกครองหมู่บ้าน
  • หมวดที่4 ว่าด้วยลักษณะปกครองตำบล
  • หมวดที่5 ว่าด้วยลักษณะปกครองอำเภอ

สาระสำคัญ พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ.2540

  • หมวดที่ 1 การเปิดเผยข้อมูลข่าวสาร หน้าที่ของหน่วยงานของรัฐในการเปิดเผยข้อมูลข่าวสาร
  • หมวดที่ 2 ข้อมูลข่าวสารที่ไม่ต้องการเปิดเผย
  • หมวดที่ 3 ข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคล
  • หมวดที่ 4 เอกสารประวัติศาสตร์
  • หมวดที่ 5 คณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ
  • หมวดที่ 6 คณะกรรมการวินิจฉัยการเปิดเผยข้อมูลข่าวสาร
  • หมวดที่ 7 บทกำหนดโทษ
  • บทเฉพาะกาล

สาระสำคัญ พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ.2551

  • ลักษณะ 1 คณะกรรมการข้าราชการพลเรือน
  • ลักษณะ 2 คณะกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรม
  • ลักษณะ 3 บททั่วไป
  • ลักษณะ 4 ข้าราชการพลเรือนสามัญ
  • ลักษณะ 5 ข้าราชการพลเรือนในพระองค์
  • บทเฉพาะกาล

สาระสำคัญ พระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ.2539

  • หมวด 1 คณะกรรมการวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง
  • หมวด 2 คำสั่งทางปกครอง
  • หมวด 3 ระยะเวลาและอายุความ
  • หมวด 4 การแจง
  • หมวด 5 คณะกรรมการที่มีอำนาจดำเนินการพิจารณาทางปกครอง
  • บทเฉพาะกาล

พระราชบัญญัติ ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.2534 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2)พ.ศ.2535 (ฉบับที่3)พ.ศ.2536 (ฉบับที่4)พ.ศ.2543 (ฉบับที่5)พ.ศ.2545 (ฉบับที่6)พ.ศ.2546 และ(ฉบับที่7)พ.ศ.2550

  • ส่วนที่ 1 การจัดระเบียบบริหารราชการส่วนกลาง
  • ส่วนที 2 การจัดระเบียบบริหารราชการส่วนภูมิภาค
  • ส่วนที่ 3 การจัดระเบียบบริหารราชการส่วนท้องถิ่น
  • ส่วนที่ 4 คณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ
  • บทเฉพาะกาล

สาระสำคัญ พระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ.2539

สาระสำคัญ พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ.2546

  • หมวด 1 การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี
  • หมวด 2 การบริหารราชการเพื่อให้เกิดประโยชน์สุขของประชาชน
  • หมวด 3 การบริหารราชการเพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐ
  • หมวด 4 การบริหารราชการอย่างมีประสิทธิภาพ และเกิดความคุ้มค่าในเชิงภารกิจของรัฐ
  • หมวด 5 การลดขั้นตอนการปฏิบัติงาน
  • หมวด 6 การปรับปรุงภาตกิจของส่วนราชการ
  • หมวด 7 การอำนวยความสะดวก และการตอบสนองความต้องการของประชาชน
  • หมวด 8 การประเมินผลการปฏิบัติราชการ
  • หมวด 9 บทเบ็ดเตล็ด

สาระสำคัญ ระเบียบว่าด้วยการรักษาความลับของทางราชการ พ.ศ.2544

สาระสำคัญ ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ.2526

ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ

  • หมวด 1 คณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
  • หมวด 2 สำนักงานคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ

รวมระเบียบคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ ว่าด้วยการจัดตั้งและบริหารกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ พ.ศ.2544 และที่แก้ไขเพิ่มเติม(ฉบับที่2)พ.ศ.2544 (ฉบับที่3) พ.ศ.2544 และ(ฉบับที่4)พ.ศ.2545

  • หมวด 1 ข้อความทั่วไป
  • หมวด 2 กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
  • หมวด 3 คณะอนุกรรมการสนับสนุนการดำเนินงานกองทุนหมู่บ้านระดับจังหวัด
  • หมวด 4 คณะอนุกรรมการสนับสนุนและติดตามการดำเนินงานกองทุนหมู่บ้านระดับจังหวัด
  • หมวด 5 คณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง
  • หมวด 6 กองทุน และสมาชิกกองทุน
  • หมวด 7 การกู้ยืมเงินกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง
  • หมวด 8 การทำบัญชี และการตรวจสอบ
  • หมวด 9 บทเฉพาะกาล

ระเบียบคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ ว่าด้วยการจัดตั้งและบริหารกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ(ฉบับที่ 5) พ.ศ.24546


วันพฤหัสบดีที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2551

การรับสมัครสอบปลัดอำเภอ ปี 51

ประกาศกรมการปกครอง
เรื่อง รับสมัครสอบแข่งขัน เพื่อบรรจุบุคคลเข้ารับราชการในตำแหน่ง
เจ้าพนักงานปกครอง 3 (ปลัดอำเภอ) พ.ศ.2551
********************
ด้วย ก.พ. ได้มอบหมายให้กรมการปกครองดำเนินการสอบแข่งขัน เพื่อบรรจุบุคคลเข้ารับราชการในตำแหน่งเจ้าพนักงานปกครอง 3 (ปลัดอำเภอ) ตามหนังสือสำนักงาน ก.พ. ที่ นร 1004.2/ 2983 ลงวันที่ 21 เมษายน 2551อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 53 มาตรา 54 มาตรา 62 และมาตรา 132 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551ประกอบกับหนังสือสำนักงาน ก.พ. ที่ นร 0708.4/ว 15 ลงวันที่ 9 กันยายน 2535 เรื่อง หลักสูตร วิธีการสอบแข่งขัน และวิธีดำเนินการสอบแข่งขัน เกณฑ์การตัดสิน การขึ้นบัญชีผู้สอบแข่งขันได้ การนำรายชื่อผู้สอบแข่งขันได้ในตำแหน่งหนึ่งไปขึ้นบัญชีเป็นผู้สอบแข่งขันได้ในตำแหน่งอื่น และการยกเลิกบัญชีผู้สอบแข่งขันได้ จึงประกาศรับสมัครสอบแข่งขัน เพื่อบรรจุบุคคลเข้ารับราชการในสังกัดกรมการปกครอง ดังต่อไปนี้

1. ตำแหน่งที่รับสมัครสอบ- ตำแหน่งเจ้าพนักงานปกครอง 3 (ปลัดอำเภอ)
- อัตราเงินเดือน 7,940 บาท หรือตามที่ ก.พ. กำหนด
- จำนวนอัตราว่างที่บรรจุได้ในครั้งแรก 120 อัตรา
- ลักษณะงานที่ปฏิบัติ ปฏิบัติหน้าที่ในงานการปกครองที่เกี่ยวข้องตามกฎหมายและระเบียบเกี่ยวกับการอนุญาต การจดและจัดทำทะเบียนต่าง ๆ การจัดทำบัตรประจำตัวประชาชน การจัดตั้ง ยุบ หรือเปลี่ยนแปลงเขตการปกครอง การป้องกันและรักษาความสงบ การสอบสวนและไกล่เกลี่ยกรณีพิพาทต่าง ๆ การส่งเสริมอาชีพ และปฏิบัติหน้าที่อื่น ๆที่เกี่ยวข้อง หรือได้รับมอบหมาย
ผู้สมัครสอบ ควรเป็นผู้ที่มีความพร้อมและสามารถไปปฏิบัติหน้าที่ราชการประจำในต่างจังหวัดซึ่งอาจเป็นพื้นที่ที่ห่างไกลและทุรกันดารได้ โดยจะต้องเป็นผู้ที่มีร่างกายสมบูรณ์ แข็งแรง

2. คุณสมบัติทั่วไป และคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง ของผู้มีสิทธิสมัครสอบ
2.1 คุณสมบัติทั่วไปผู้สมัครสอบ ต้องมีคุณสมบัติทั่วไป และไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 36 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 ดังต่อไปนี้
ก. คุณสมบัติทั่วไป
(1) มีสัญชาติไทย
(2) มีอายุไม่ต่ำกว่า 18 ปี
(3) เป็นผู้เลื่อมใสในการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขด้วยความบริสุทธิ์ใจ
ข. ลักษณะต้องห้าม
(1) เป็นผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง
(2) เป็นคนไร้ความสามารถ คนเสมือนไร้ความสามารถ คนวิกลจริตหรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ หรือเป็นโรคตามที่กำหนดในกฎ ก.พ.
(3) เป็นผู้อยู่ในระหว่างถูกสั่งพักราชการ หรือถูกสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อนตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน หรือตามกฎหมายอื่น
(4) เป็นผู้บกพร่องในศีลธรรมอันดีจนเป็นที่รังเกียจของสังคม
(5) เป็นกรรมการหรือผู้ดำรงตำแหน่งที่รับผิดชอบในการบริหารพรรคการเมืองหรือเจ้าหน้าที่ในพรรคการเมือง
(6) เป็นบุคคลล้มละลาย
(7) เป็นผู้เคยต้องรับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุกเพราะกระทำความผิดทางอาญา เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ
(8) เป็นผู้เคยถูกลงโทษให้ออก ปลดออก หรือไล่ออกจากรัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงานอื่นของรัฐ
(9) เป็นผู้เคยถูกลงโทษให้ออก หรือปลดออก เพราะกระทำผิดวินัยตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน หรือตามกฎหมายอื่น
(10) เป็นผู้เคยถูกลงโทษไล่ออก เพราะกระทำผิดวินัยตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน หรือตามกฎหมายอื่น
(11) เป็นผู้เคยกระทำการทุจริตในการสอบเข้ารับราชการ หรือเข้าปฏิบัติงานในหน่วยงานของรัฐ
ผู้ที่จะเข้ารับราชการเป็นข้าราชการพลเรือนซึ่งมีลักษณะต้องห้ามตาม ข. (4) (6) (7) (8) (9)(10) หรือ (11) ก.พ. อาจพิจารณายกเว้นให้เข้ารับราชการได้ แต่ถ้าเป็นกรณีมีลักษณะต้องห้ามตาม (8) หรือ (9) ผู้นั้นต้องออกจากงานหรือออกจากราชการไปเกินสองปีแล้ว และในกรณีมีลักษณะต้องห้ามตาม (10) ผู้นั้นต้องออกจากงานหรือออกจากราชการไปเกินสามปีแล้ว และต้องมิใช่เป็นกรณีออกจากงานหรือออกจากราชการเพราะทุจริตต่อหน้าที่
2.2 คุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งผู้สมัครสอบ จะต้องเป็นผู้ได้รับวุฒิ ปริญญาตรีหรือเทียบเท่า ทางรัฐศาสตร์ รัฐประศาสนศาสตร์หรือกฎหมาย จากสถาบันการศึกษาที่ ก.พ. รับรอง

3. วิธีการรับสมัครสอบรับสมัครสอบทางอินเตอร์เน็ต ตั้งแต่วันที่ 25 มิถุนายน ถึงวันที่ 15 กรกฎาคม 2551ตลอด 24 ชั่วโมง ไม่เว้นวันหยุดราชการ ที่เว็บไซต์ http://job.dopa.go.th/ หรือ http://www.dopa.go.th/หัวข้อ “ การสมัครสอบแข่งขัน เพื่อบรรจุบุคคลเข้ารับราชการในตำแหน่งเจ้าพนักงานปกครอง 3 (ปลัดอำเภอ) พ.ศ.2551 ”โดยผู้มีคุณสมบัติดังกล่าวข้างต้น และประสงค์จะสมัครสอบแข่งขัน ตามเงื่อนไข หลักเกณฑ์และวิธีการสอบที่กำหนดให้ดำเนินการตามขั้นตอนและจัดส่งเอกสารการสมัครสอบ ดังนี้
3.1 ให้ผู้สมัครกรอกข้อมูลการสมัครสอบให้ถูกต้องและครบถ้วน ปฏิบัติตามขั้นตอนที่กำหนดและเมื่อยืนยันข้อความที่ได้กรอกแล้ว ระบบจะออกเลขประจำตัวสอบ ใบสมัครและแบบฟอร์มการชำระเงินค่าสมัครสอบให้โดยอัตโนมัติ จากนั้นพิมพ์ใบสมัครและแบบฟอร์มการชำระเงิน ลงในกระดาษขนาด A4 อย่างละ 1 แผ่น หรือ หากไม่มีเครื่องพิมพ์ในขณะนั้น ให้ทำการบันทึกข้อมูลดังกล่าวเพื่อนำไปพิมพ์ในภายหลัง ในกรณีที่ไม่สามารถบันทึกข้อมูล หรือพิมพ์ได้ ผู้สมัครสามารถค้นหาและบันทึกข้อมูลใหม่ หรือพิมพ์ใบสมัครและแบบฟอร์มการชำระเงินนั้นได้อีก แต่จะไม่สามารถแก้ไขข้อมูลที่ได้กรอกและยืนยันการสมัครในครั้งแรกได้
3.2 นาแบบฟอร์มการชำระเงิน ตามข้อ 3.1 ไปชำระเงิน ผ่านเคาน์เตอร์ บมจ. ธนาคารกรุงไทยได้ทุกสาขาทั่วประเทศ ตั้งแต่วันที่ 25 มิถุนายน ถึงวันที่ 16 กรกฎาคม 2551 ภายในเวลาทำการของธนาคาร โดยให้เก็บหลักฐานการชำระเงินไว้เป็นหลักฐานด้วย
3.3 ใบสมัครที่พิมพ์จากอินเตอร์เน็ต ตามข้อ 3.1 ให้จัดส่งพร้อมเอกสาร ดังนี้
(1) ใบสมัครสอบที่พิมพ์จากอินเตอร์เน็ต ให้ติดรูปถ่ายหน้าตรง ไม่สวมหมวกและไม่สวมแว่นตาดำ ซึ่งถ่ายไม่เกิน 6 เดือน ขนาด 2 นิ้ว พร้อมทั้งลงลายมือชื่อใบสมัคร จำนวน 1 ฉบับ
(2) สำเนา บัตรประจำตัวประชาชน หรือ บัตรประจำตัวเจ้าหน้าที่ของรัฐ ซึ่งปรากฏเลขประจำตัวประชาชน 13 หลัก ชัดเจน จำนวน 1 ฉบับ
(3) สำเนา ใบปริญญาบัตร และระเบียนแสดงผลการเรียน (Transcript of Record)ซึ่งแสดงหรือระบุว่าเป็นผู้ได้รับ วุฒิปริญญาตรีหรือเทียบเท่า ทางรัฐศาสตร์ รัฐประศาสนศาสตร์ หรือกฎหมาย เท่านั้นโดยจะต้องระบุวันที่สำเร็จการศึกษาไว้ด้วย และจะต้องสำเร็จการศึกษาภายในวันปิดรับสมัครสอบคือ วันที่ 15 กรกฎาคม2551 อย่างละ 2 ฉบับ ( หากเป็นสถาบันการศึกษาภายในประเทศ ให้ใช้ฉบับภาษาไทย )
สำหรับผู้ที่ยังไม่ได้รับใบปริญญาบัตร ให้ใช้หนังสือรับรองการสำเร็จการศึกษา ร่วมกับระเบียนแสดงผลการเรียน แทนได้ และจะต้องเป็นไปตามเงื่อนไขการรับสมัคร ตามข้อ 4.1
(4) สำเนา หนังสือรับรองผลการสอบผ่าน ภาค ก. ของ ก.พ. ( เฉพาะ ผู้ที่แจ้งว่ามีหนังสือรับรองผลการสอบภาค ก. ของ ก.พ. แล้ว ) จำนวน 1 ฉบับ
(5) สำเนา หลักฐานอื่น ๆ เช่น ใบสำคัญการสมรส ใบเปลี่ยนชื่อ - ชื่อสกุล อย่างละ 1 ฉบับ(ในกรณีหลักฐาน (2) และ (3) หรือ (4) ไม่ตรงกัน)
สำเนาเอกสารทุกฉบับ ให้ลงลายมือชื่อรับรองสำเนา พร้อมระบุเลขประจำตัวสอบ กำกับไว้มุมบนด้านขวา ทุกหน้าของสำเนาเอกสาร
(6) หนังสือรับรองจากผู้บังคับบัญชา ซึ่งเป็นผู้มีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา 57 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 อนุญาตให้สมัครสอบแข่งขันได้ ( เฉพาะ ผู้สมัครสอบที่เป็นข้าราชการพลเรือนสามัญดำรงตำแหน่งในระดับ 3 หรือสูงกว่า โดยตำแหน่งที่ดำรงอยู่นั้น ใช้คุณวุฒิเช่นเดียวกันกับคุณวุฒิตามคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งที่รับสมัครสอบแข่งขัน และจะต้องได้รับอนุญาตก่อนการสมัครสอบ ) ฉบับจริง จำนวน 1 ฉบับ
(7) ซองจดหมายขนาด 11 x 22 เซนติเมตร ติดแสตมป์ราคา 3 บาท จ่าหน้าซองถึงตนเองระบุเลขประจำตัวสอบไว้ที่หน้าซองให้ถูกต้อง โดยไม่ต้องปิดผนึกซอง ( เฉพาะ ผู้ที่จะต้องเข้าสอบ ภาค ก. ในการสอบครั้งนี้เพื่อที่สำนักงาน ก.พ. จะได้ขึ้นทะเบียนและจัดส่งหนังสือรับรองผลการสอบ ภาค ก. ของ ก.พ. ไปให้ผู้ที่สอบผ่านทางไปรษณีย์ )
ให้นำเอกสาร (1) – (7) ใส่ซองขนาด A4 ปิดผนึก วงเล็บมุมซอง “ สมัครสอบปลัดอำเภอเลขประจำตัวสอบ ................... ” ส่งถึง กรมการปกครอง ตู้ ปณ. 33 ปณฝ. มหาดไทย กทม. 10206ภายในวันที่ 31 กรกฎาคม 2551
3.4 ผู้สมัครสอบต้องเสียค่าใช้จ่ายในการสมัครสอบ 130 บาท ประกอบด้วย
3.4.1 ค่าธรรมเนียมสอบ จำนวน 100 บาท
3.4.2 ค่าธรรมเนียมธนาคาร รวมค่าบริการทางอินเตอร์เน็ต จำนวน 30 บาท
การสมัครสอบจะมีผลสมบูรณ์เมื่อชำระค่าใช้จ่ายในการสมัครสอบและจัดส่งเอกสารตามข้อ 3.3 ถึงกรมการปกครอง ภายในวันและเวลาที่กำหนด ค่าใช้จ่ายในการสมัครสอบจะไม่คืนให้ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น

4. เงื่อนไขการรับสมัคร4.1 ผู้สมัครสอบ จะต้องเป็นผู้ได้รับวุฒิการศึกษาตรงตามคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งในข้อ 2.2และการสำเร็จการศึกษาตามหลักสูตรขั้นปริญญาของสถานศึกษาใด จะถือตามกฎหมาย กฎ หรือระเบียบเกี่ยวกับการสำเร็จการศึกษาตามหลักสูตรขั้นปริญญาบัตรของสถานศึกษานั้นเป็นเกณฑ์ โดยจะต้องเป็นผู้สำเร็จการศึกษาและได้รับอนุมัติจากผู้มีอำนาจอนุมัติให้สำเร็จการศึกษา ภายในวันปิดรับสมัครสอบ คือวันที่ 15 กรกฎาคม 2551
4.2 การสมัครสอบตามขั้นตอนดังกล่าวข้างต้น ถือได้ว่าผู้สมัครเป็นผู้ลงลายมือชื่อและรับรองความถูกต้องของข้อมูลดังกล่าว ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ.2544 ดังนั้น หากผู้สมัครจงใจกรอกข้อมูลอันเป็นเท็จ อาจมีความผิดฐานแจ้งความเท็จต่อเจ้าพนักงาน ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 137
4.3 ผู้สมัครสอบจะต้องรับผิดชอบในการตรวจสอบและรับรองตนเองว่า เป็นผู้มีคุณสมบัติครบถ้วนตรงตามประกาศรับสมัครสอบจริง และจะต้องกรอกรายละเอียดต่าง ๆ ให้ถูกต้องครบถ้วน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการกรอกชื่อ - ชื่อสกุล และเลขประจำตัวประชาชน ในกรณีที่หลักฐานการแสดงตนเข้าห้องสอบของผู้สมัคร ไม่ตรงกับข้อมูลการสมัครสอบ จะไม่อนุญาตให้เข้าสอบโดยเด็ดขาด
4.4 กรณีที่มีความผิดพลาดอันเกิดจากผู้สมัคร หรือตรวจสอบพบว่าเอกสารหลักฐาน คุณวุฒิซึ่งผู้สมัครได้ยื่น ไม่ตรงหรือไม่เป็นไปตามประกาศรับสมัครสอบแข่งขัน จะถือว่าผู้สมัครสอบเป็นผู้ขาดคุณสมบัติในการสมัครสอบครั้งนี้ตั้งแต่ต้น
4.5 สำหรับพระภิกษุหรือสามเณร ทางราชการไม่รับสมัครสอบและไม่อาจให้เข้าสอบแข่งขันเพื่อบรรจุบุคคลเข้ารับราชการได้ ทั้งนี้ ตามหนังสือกรมสารบรรณ คณะรัฐมนตรีฝ่ายบริหาร ที่ นว 89/2501 ลงวันที่27 มิถุนายน 2501 และตามความในข้อ 5 ของคำสั่งมหาเถรสมาคม ลงวันที่ 17 มีนาคม 2538

5. การประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิเข้าสอบ วัน เวลา สถานที่สอบและระเบียบเกี่ยวกับการสอบแข่งขันกรมการปกครองจะประกาศรายชื่อผู้สมัครที่ได้รับรองตนเอง ตามข้อ 4.2 ข้อ 4.3 และได้ชำระค่าใช้จ่ายในการสมัครสอบ เป็นผู้มีสิทธิเข้าสอบ พร้อมกำหนด วัน เวลา สถานที่สอบและระเบียบเกี่ยวกับการสอบแข่งขันในวันที่ 6 สิงหาคม 2551 ทางเว็บไซต์ http://job.dopa.go.th/ หรือ http://www.dopa.go.th/ หัวข้อ“ การสมัครสอบแข่งขัน เพื่อบรรจุบุคคลเข้ารับราชการในตำแหน่งเจ้าพนักงานปกครอง 3 (ปลัดอำเภอ) พ.ศ.2551 ”

6. หลักสูตรและวิธีการสอบแข่งขันกำหนดวิธีการสอบแข่งขัน โดยแบ่งหลักสูตรการสอบออกเป็น 3 ภาค ดังนี้
6.1 ภาคความรู้ความสามารถทั่วไป (ภาค ก.) ( คะแนนเต็ม 200 คะแนน )
ทดสอบโดยวิธีสอบข้อเขียน ดังต่อไปนี้
(1) วิชาความสามารถในการศึกษา วิเคราะห์ และสรุปเหตุผล ( 100 คะแนน )
ทดสอบความสามารถในการศึกษา วิเคราะห์ และสรุปเหตุผล โดยการให้สรุปความหรือให้จับประเด็นในข้อความหรือเรื่องราว หรือให้วิเคราะห์เหตุการณ์หรือสรุปเหตุผลทางการเมือง เศรษฐกิจ หรือสังคมหรือให้หาแนวโน้มหรือความเปลี่ยนแปลงที่น่าจะเป็นไปตามข้อมูลหรือสมมุติฐาน หรือให้ศึกษาวิเคราะห์และสรุปเหตุผลโดยการอย่างอื่น ซึ่งเหมาะสมแก่การทดสอบความสามารถดังกล่าว
(2) วิชาภาษาไทย ( 100 คะแนน)(2.1) ความเข้าใจภาษา
การอ่าน และทำความเข้าใจกับบทความหรือข้อความที่กำหนดไว้ แล้วตอบคำถามที่ตามมาในแต่ละบทความหรือข้อความ ทั้งนี้ รวมไปถึงการสรุปและตีความด้วย
(2.2) การใช้ภาษา
(2.2.1) การเลือกใช้คำหรือกลุ่มคำ
(2.2.2) การเขียนประโยคได้ถูกต้องตามหลักภาษา
(2.2.3) การเรียงข้อความ
ทั้งนี้ ผู้สมัครรายใด มีหนังสือรับรองผลการสอบผ่านภาค ก. ของ ก.พ. และได้แจ้งไว้ในการกรอกข้อมูลการสมัครสอบแล้ว ไม่ต้องเข้าสอบ ภาค ก. ในการสอบแข่งขันครั้งนี้อีก
กรณีที่ผู้สมัครรายใด มีหนังสือรับรองผลการสอบผ่านภาค ก. ของ ก.พ. แล้ว แต่ไม่ได้แจ้งไว้ในการกรอกข้อมูลการสมัครสอบ สามารถนำสำเนาผลการสอบผ่านภาค ก. ของ ก.พ. มายื่นได้ ภายในวันสอบภาค ก.ในการสอบครั้งนี้ ที่กองอำนวยการสอบ ของสนามสอบที่เข้าสอบ ก่อนเวลา 09.30 น. เพื่อจะได้ไม่ต้องเข้าสอบภาค ก. ครั้งนี้
ในกรณีที่ผู้สมัครรายใด มีหนังสือรับรองผลการสอบผ่านภาค ก. ของ ก.พ. แล้ว แต่ไม่ได้แจ้งไว้ในการกรอกข้อมูลการสมัครสอบ และได้เข้าสอบภาค ก. ในครั้งนี้ จะถือผลการสอบครั้งนี้เป็นเกณฑ์การตัดสินตามข้อ 7.
6.2 ภาคความรู้ความสามารถที่ใช้เฉพาะตำแหน่ง (ภาค ข.) ( คะแนนเต็ม 200 คะแนน )ทดสอบความรู้ ความเข้าใจ ที่เกี่ยวข้องกับงานในหน้าที่ของตำแหน่งเจ้าพนักงานปกครอง 3(ปลัดอำเภอ) โดยวิธีสอบข้อเขียน ดังนี้
(1) ความรู้พื้นฐานในการปฏิบัติงานราชการ ( 100 คะแนน )
(1.1) ความรู้ในหลักวิชาทางการเมือง การปกครองและการบริหารราชการแนวใหม่
(1.2) ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับสภาพแวดล้อมปัจจุบันทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมของประเทศไทยและของต่างประเทศ
(1.3) ความรู้เกี่ยวกับกฎหมายและระเบียบที่ใช้ในการปฏิบัติราชการ เช่นรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย กฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน กฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือน กฎหมายว่าด้วยวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง กฎหมายว่าด้วยความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ กฎหมายว่าด้วยข้อมูลข่าวสารของราชการ พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี ระเบียบเกี่ยวกับงานสารบรรณ ระเบียบเกี่ยวกับการรักษาความลับของทางราชการ ระเบียบเกี่ยวกับการงบประมาณ การเงินการคลังและพัสดุ
(1.4) ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมายทั่วไป กฎหมายอาญา กฎหมายแพ่ง กฎหมายวิธีพจารณาความแพ่ง และกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
(2) ความรู้ ความเข้าใจในภารกิจของกรมการปกครอง ( 100 คะแนน )(2.1) วิสัยทัศน์ พันธกิจ โครงสร้าง อำนาจหน้าที่ และภารกิจของกระทรวงมหาดไทยและกรมการปกครอง
(2.2) การปกครองท้องที่ ได้แก่ กฎหมายว่าด้วยลักษณะปกครองท้องที่ กฎหมายและระเบียบ ข้อบังคับ ที่เกี่ยวข้องกับกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ฯลฯ และคณะกรรมการหมู่บ้าน
(2.3) ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับงานทะเบียนราษฎร งานบัตรประจำตัวประชาชนงานทะเบียนทั่วไป งานอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิงและสิ่งเทียมอาวุธปืน งานการพนัน งานควบคุมการเรี่ยไร งานควบคุมการขายทอดตลาดและค้าของเก่า งานโรงรับจำนำ งานโรงแรม และงานสถานบริการ
(2.4) ความรู้เกี่ยวกับการอำนวยความเป็นธรรมให้แก่ประชาชน การรักษาความสงบเรียบร้อย ความมั่นคงภายในและการจัดระเบียบสังคม ในหน้าที่ของกรมการปกครอง
6.3 ภาคความเหมาะสมกับตำแหน่ง (ภาค ค.) ( คะแนนเต็ม 100 คะแนน )ทดสอบความพร้อมของผู้ที่มีความเหมาะสมที่จะสามารถปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งที่รับสมัครโดยการทดสอบ ดังนี้
(1) การทดสอบสมรรถภาพร่างกาย ( 50 คะแนน )
เป็นการทดสอบสมรรถภาพร่างกาย ตามแบบทดสอบสมรรถภาพทางกายอย่างง่ายของการกีฬาแห่งประเทศไทย โดยผู้เข้าทดสอบจะต้องเป็นผู้ที่มีร่างกายสมบูรณ์ แข็งแรง และสามารถเข้าทดสอบสมรรถภาพร่างกายตามที่กำหนดได้ ประกอบด้วย
(1.1) ดันพื้น (ชาย 30 ครั้ง/นาที) (หญิง 20 ครั้ง/นาที) ( 15 คะแนน )
(1.2) นอนยกตัว (ชาย 42 ครั้ง/นาที) (หญิง 26 ครั้ง/นาที) ( 15 คะแนน )
(1.3) วิ่งระยะทาง 2,000 เมตร ภายในเวลา 11 นาที ( 20 คะแนน )
(2) การประเมินบุคคลและสัมภาษณ์ ( 50 คะแนน )
เป็นการประเมินผู้เข้าสอบจากประวัติส่วนตัว ประวัติการศึกษา ประวัติการทำงานและพฤติกรรมที่ปรากฏทางอื่น รวมทั้งจากการสัมภาษณ์ เพื่อพิจารณาสมรรถนะและความเหมาะสมในด้านต่าง ๆ เช่นท่วงทีวาจา อุปนิสัย ทัศนคติ อารมณ์ ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ปฏิภาณไหวพริบ บุคลิกภาพ รวมถึงความรู้ที่เป็นประโยชน์และคุณลักษณะที่เหมาะสมอื่นและจำเป็นต่อการปฏิบัติหน้าที่ เป็นต้น
ผู้เข้าทดสอบสมรรถภาพร่างกายจะต้องได้คะแนนไม่ต่ำกว่า ร้อยละ 50 (25 คะแนน) โดยจะนำคะแนนที่ได้ไปรวมกับคะแนนการประเมินบุคคลและสัมภาษณ์
ทั้งนี้ กรมการปกครองกำหนดให้ทดสอบความรู้ความสามารถทั่วไป (ภาค ก.) และภาคความรู้ความสามารถที่ใช้เฉพาะตำแหน่ง (ภาค ข.) ก่อน แล้วจึงให้ผู้ผ่านการทดสอบทั้ง 2 ภาค เข้าสอบภาคความเหมาะสมกับตำแหน่ง (ภาค ค.) ต่อไป โดยจะประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิเข้าสอบและระเบียบวิธีการสอบ ภาคความเหมาะสมกับตำแหน่ง (ภาค ค.) ในภายหลัง ทางเว็บไซต์ http://www.dopa.go.th/ หรือ http://job.dopa.go.th/หัวข้อ “ การสมัครสอบแข่งขัน เพื่อบรรจุบุคคลเข้ารับราชการในตำแหน่งเจ้าพนักงานปกครอง 3 (ปลัดอำเภอ) พ.ศ.2551 ”

7. เกณฑ์การตัดสิน
ผู้สอบแข่งขันได้ จะต้องเป็นผู้ที่สอบได้คะแนนในแต่ละภาคตามหลักสูตรไม่ต่ำกว่า ร้อยละ 60

8. การขึ้นบัญชีผู้สอบแข่งขันได้การขึ้นบัญชีผู้สอบแข่งขันได้ จะเรียงลำดับที่จากผู้สอบได้คะแนนรวมภาคความรู้ความสามารถที่ใช้เฉพาะตำแหน่ง (ภาค ข.) และภาคความเหมาะสมกับตำแหน่ง (ภาค ค.) สูงสุดลงมาตามลำดับ กรณีที่มีผู้สอบได้คะแนนรวมเท่ากัน จะให้ผู้ที่ได้คะแนนภาค ค. มากกว่าอยู่ในลำดับที่สูงกว่า หากได้คะแนน ภาค ค. เท่ากันจะให้ผู้ได้รับเลขประจำตัวสอบก่อนเป็นผู้อยู่ในลำดับที่สูงกว่า
บัญชีผู้สอบแข่งขันได้ จะขึ้นบัญชีไว้เป็นเวลาไม่เกิน 2 ปี นับตั้งแต่วันประกาศขึ้นบัญชี แต่ถ้ามีการสอบแข่งขันอย่างเดียวกันนี้อีก และได้ขึ้นบัญชีผู้สอบแข่งขันได้ใหม่แล้ว บัญชีผู้สอบแข่งขันได้ครั้งนี้เป็นอันยกเลิก

9. การบรรจุและแต่งตั้ง
ผู้สอบแข่งขันได้จะรับการบรรจุและแต่งตั้ง ตามลำดับที่ในบัญชีผู้สอบแข่งขันได้เมื่อมีอัตราว่างโดยได้รับอัตราเงินเดือนตามคุณวุฒิที่กำหนดเป็นคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง ตามที่ระบุไว้ในข้อ 1.
กรมการปกครอง ไม่รับโอนผู้สอบแข่งขันได้ที่เป็นข้าราชการ หรือพนักงานของรัฐทุกประเภทไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น
ในกรณีที่มีตำแหน่งว่างในส่วนราชการอื่น บัญชีผู้สอบแข่งขันได้จะใช้บรรจุในส่วนราชการอื่นได้
จึงประกาศมาเพื่อทราบโดยทั่วกัน
ประกาศ ณ วันที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2551

(นายวิชัย ศรีขวัญ)
อธิบดีกรมการปกครอง